หน่วยที่ 3
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว
เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน
เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล
แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical
Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3
ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม
ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู
คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลังจากนั้นเป็นต้นมา
ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5
ยุค
ยุคที่
1
-ใช้อุปกรณ์
หลอดสุญญากาศเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
และเกิดความร้อนสูง
-ทำงานด้วยภาษาเครื่อง เท่านั้น
ยุคที่ 2
-ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ
(Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ
เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว
มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ
ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
-เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก
ยุคที่ 3
-ใช้อุปกรณ์
วงจรรวม หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง
ยุคที่ 4
-ใช้อุปกรณ์
วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก เป็นอุปกรณ์หลัก
-มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง
ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการ ประมวลผลแต่ละคำสั่ง
ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที
ยุคที่ 5
-
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ
ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน
มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable
Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ
จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า
ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ
(slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน
หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง
หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1.) ส่วนรับข้อมูล
(Input Unit)
2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล
(Central Processing Unit)
3.) ส่วนแสดงผล
(Output Unit)
4.) หน่วยความจำ
(Memory Unit)
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
นำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ
การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ
ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ
อีกหลายด้าน
-การศึกษา
-งานธุรกิจ
-อื่นๆ
ระบบคอมพิวเตอร์
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน
ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
-ซอฟต์แวร์
(Software)
-บุคลากร
(Peopleware)
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
-ฮาร์ดแวร์
(Hardware)
-ซอฟต์แวร์
(Software)
-บุคลากร
(Peopleware)
-ข้อมูล
(Data)
-กระบวนการทำงาน
(Procedure)